• ระยะเวลาเรียน: 48 สัปดาห์
  • เปิดรับสมัคร: 3 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2567 (เปิดภาคเรียน 1 เมษายน 2567)

สาขาวิชาการครัวไทย

 วิชาพื้นฐาน

 

ความรู้เบื้องต้นของการโรงเเรม (Fundamental of Hotel Indrustry)

ศึกษาประวัติความเป็นมาเเละวิวัฒนาการอุตสาหกรรมการโรงเเรมทั่วโลก การจัดประเภทของโรงเเรม โครงสร้างของโรงเเรมที่ครอบคลุมรายละเอียดของเเต่ละหน้าที่ภายในโรงเเรมโดยเน้นที่เเผนกต้อนรับส่วนหน้า แผนกอาหารเเละเครื่องดื่ม แผนกเเม่บ้าน รวมถึงศึกษาอุตสาหกรรมการโรงเเรมในประเทศไทย และเครือข่ายโรงเเรมชั้นนำของโลก

ภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อสารในโรงเเรม (English for the Hotel Business)

เน้นความรู้ภาษาอังกฤษระดับต้นถึงกลาง ศัพท์เฉพาะและศัพท์พิเศษต่างๆ ที่ใช้สื่อสารด้านงานบริการ ชื่ออาหาร เเละอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เพื่อสามารถนำไปใช้ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพในงานธุรกิจการโรงเเรม

จิตวิทยากับงานโรงเเรม (Psychology in the Hotel Business)

ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในการที่จะปรับตัวให้เข้ากับสังคม โดยเฉพาะงานโรงเเรมสร้างการเรียนรู้พื้นฐานด้านจิตวิทยาเเละความต้องการของลูกค้า การผูกไมตรี เเละพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในงานบริการ

สุขอนามัย (Food Safety and Sanitation)

ศึกษาสุขอนามัยการรักษาความสะอาดที่ถูกวิธีทั้งส่วนบุคคล เเละส่วนรวมภายในองค์กร การดูเเลรักษาถนอมอาหารให้ถูกวิธี ศึกษาสภาพและปัญหาสาเหตุแหล่งที่มาของเชื้อโรค เพื่อป้องกันและส่งเสริมรักษาความสะอาดภายในพื้นที่ รวมถึงเรียนรู้ถึงหมวดหมู่ คุณประโยชน์ของวัตถุดิบอาหาร

การควบคุมต้นทุน (Cost Control)

ศึกษาการคำนวณ และการเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ การทราบแหล่งผลิต แหล่งซื้อวัตถุดิบ การจัดรายการอาหารให้เข้ากันเป็นชุด การคิดต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มโดยรักษามาตราฐานสินค้า การกำหนดราคาขาย

 

วิชาเฉพาะ

 

โครงสร้างการบริการ อุปกรณ์เครื่องใช้ และสุขลักษณะในครัว (Kitchen Structural Organization, Kitchen Equipment and Utensils, and Hygiene)

ศึกษาผังโครงสร้างของห้องครัวในโรงแรม ตำแหน่งหน้าที่การทำงานความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่ง การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ ในครัว การดูแลรักษาอาหาร การถนอมอาหารอย่างถูกวิธี การป้องกันอุบัติภัยในครัว และสุขอนามัยต่างๆ

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องปรุงชนิดต่างๆ (Introduction to Basic Ingredients)

ศึกษาประเภทเครื่องปรุงชนิดต่างๆ เช่น วัตถุดิบของสด วัตถุดิบของแห้ง พืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ส่วนที่ดีที่สุดของเนื้อสัตว์แต่ละชนิด และเครื่องปรุงชนิดนั้นมีอยู่ในฤดูกาลใด เป็นต้น

การจัดเตรียมเครื่องปรุง (Basic Ingredient Preparation)

ศึกษาขั้นตอนในการเตรียมอาหาร เช่น การหั่น การเเล่ การซอย การสับ การปอก การทำเครื่องปรุง เช่น การเตรียมเครื่องแกง การทำน้ำจิ้ม น้ำพริกต่างๆ

การประกอบอาหาร (Cooking Methods)

ศึกษาวิธีปรุงอาหาร วิธีการปิ้ง เผา ทอด นึ่ง อบ ลวก ต้ม ฯลฯ การประมาณเวลาที่ได้มาตรฐานของวิธีประกอบอาหารแต่ละชนิด เทคนิคการประกอบอาหารแต่ละชนิด

ความรู้เกี่ยวกับอาหารประเภทต่างๆ (Kinds of Food)

การจำแนกอาหารออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น เครื่องจิ้ม เครื่องเคียง กับแกล้ม ของว่าง แกง ต้ม ยำ ผัด ทอด การปรุงอาหารแต่ละประเภทและเทคนิคต่างๆ ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติตามมาตราฐาน

การจัดแต่งอาหาร (Food Presentation and Decoration)

การเลือกจานชาม ภาชนะในการใส่อาหารให้เข้ากับประเภทของอาหาร เพื่อความสวยงามและการเลือกเครื่องวางเครื่องแนมที่เหมาะสมก่อนจะนำไปเสิร์ฟ เลือกผัก เครื่องจิ้ม เครื่องแนมที่เหมาะกับอาหารประเภทใด การแกะสลักผัก ผลไม้

อาหารต้นตำรับไทย  (Traditional Thai Dishes)

ศึกษาอาหารต้นตำรับไทยที่มีชื่อเสียง หรืออาหารไทยโบราณที่นิยมรับประทาน เรียนรู้กรรมวิธีขั้นตอนการปรุง การเตรียมเครื่องที่ประณีต เช่น หรุ่ม แสร้งว่า ช่อม่วง กระทงทอง เป็นต้น แนะนำการเตรียมผัก ดอกไม้ ผลไม้ต่างๆ เป็นเครื่องแนม เครื่องจิ้ม เช่น ดอกเข็ม ดอกขจร แตงโม เป็นต้น รวมถึงการปรุงอาหารเหล่านั้นและเพื่อเผยแพร่ให้อาหารไทยโบราณเป็นที่รู้จักแพร่หลาย และเป็นที่นิยมสืบเนื่องต่อไป

ขนมไทย (Thai Sweet Dishes)

ศึกษาส่วนผสม วิธีทำ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำขนมไทย ทั้งประเภทร้อน เช่น ขนมเบื้อง ขนมครก บัวลอย ขนมใส่น้ำเชื่อม เช่น ซ่าหริ่ม สามแช่ เป็นต้น และขนมไทยเดิมบางประเภทที่หายาก เช่น ดอกลำดวน ทองเอก จ่ามงกุฎ เป็นต้น

การจัดอาหารไทยสำหรับงานจัดเลี้ยง (Thai Cooking for Catering)

ศึกษาขั้นตอนการจัดเตรียมอาหารไทยสำหรับงานจัดเลี้ยงต่างๆ ทั้งประเภทงานค็อกเทล บุฟเฟ่ต์ การเลือกรายการอาหาร การคำนวณปริมาณอาหารตามจำนวนแขกร่วมงาน การจัดแต่งอาหาร การเตรียมเครื่องปรุงและส่วนประกอบวัตถุดิบต่างๆ สำหรับอาหารที่เสิร์ฟในงานเลี้ยง

การปรุงอาหารตามสั่ง (Preparation and Service À La Minute)

การเตรียมเครื่องปรุง วิธีปรุงอาหาร การกำหนดเวลาการปรุงอาหาร การเลือกภาชนะใส่อาหาร เเละการจัดเเต่งอาหาร

 

ค่าธรรมเนียมการเรียน

ค่าธรรมเนียมการสมัครเรียน : 1,500 บาท

ค่าธรรมเนียมการเรียนและค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร : 125,000 บาท (ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมการสมัครเรียน 1,500 บาท)